พระมหาธาตุแก่นนคร

พระมหาธาตุแก่นนคร หรือวัดหนองแวง วัดดังขอนแก่นที่ห้ามพลาด มีสถานที่สำคัญคือพระธาตุ 9 ชั้น

พระมหาธาตุแก่นนคร วัดดังขอนแก่นที่ห้ามพลาด มีสถานที่สำคัญคือพระธาตุ 9 ชั้น

พระมหาธาตุแก่นนคร หรือวัดหนองแวง วัดดังขอนแก่นที่ห้ามพลาด มีสถานที่สำคัญคือพระธาตุ 9 ชั้น สามารถขึ้นไปชมวิวเมืองขอนแก่นพร้อมวิวบึงแก่นนครได้ หวยมีดี พร้อมกิจกรรมที่จัดไว้ให้นักท่องเที่ยวได้สะดวกในการไหว้พระขอพร หรือถวายสังฆทาน ทั้งดอกไม้ธูปเทียน และของทำบุญ

ตั้งอยู่ภายในวัดหนองแวง ริมบึงแก่นนคร พระมหาธาตุแก่นนครเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐถือปูน เรือนยอดทรงเจดีย์ จำลองแบบมาจากพระธาตุขามแก่น มีความสูง 80 เมตร มีจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ทั้งสี่มุม และมีกำแพงแก้วพญานาคเจ็ดเศียรล้อมรอบ ซึ่งเป็นศิลปะสมัยทวารวดีผสมผสานศิลปะอินโดจีน เป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห่ พระมหาธาตุแก่นนครมี 9 ชั้น แต่ละชั้นมีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ ชั้นที่หนึ่ง มีลักษณะเป็นหอประชุม มีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่บนบุษบกตรงกลาง มีพระประธานประดิษฐานอยู่ 4 องค์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักเป็นนิทาน เรื่อง “จำปาสี่ต้น” บานประตูใหญ่แกะสลักเป็นรูปภาพสามมิติ ชั้นที่สอง เป็นหอพัก มีของเก่าที่ทางวัดนำมาจัดแสดง บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์ ภาพนิทาน เรื่อง “สังข์ศิลป์ชัย” ชั้นที่สาม เป็นหอปริยัติ บานประตูหน้าต่างเขียนลวดลายเบญจรงค์และภาพแกะสลักนิทาน เรื่อง “นางผมหอม” ชั้นที่สี่ เป็นหอปฏิบัติธรรม ความโดดเด่นอยู่ที่บานประตูหน้าต่าง เขียนภาพพระประจำวัน เทพประจำทิศ ตัวพึ่งตัวเสวยไว้ ชั้นที่ห้า ใช้เป็นหอพิพิธภัณฑ์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักภาพพุทธประวัติ แกะสลักเป็นภาพหนึ่งมิติ ชั้นที่หก เป็นหอพระอุปัชฌายาจารย์ บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดก เรื่อง “เตมีย์ใบ้” แกะสลักเป็นภาพหนึ่งมิติ ชั้นที่เจ็ด เป็นหอพระอรหันตสาวก บานประตูหน้าต่างแกะสลักนิทานชาดก เรื่อง “พระเวสสันดรชาดก” แกะสลักเป็นภาพหนึ่งมิติ ชั้นที่แปด เป็นหอพระธรรม รวบรวมพระคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก บานประตูหน้าต่างแกะสลักเป็นภาพพรหมสิบหกชั้น ชั้นที่เก้า เป็นหอพระพุทธ เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุตรงกลางบุษบก บานประตูหน้าต่างแกะสลักเป็นภาพสามมิติ รูปพระพรหมสิบหกชั้น และเป็นจุดชมทิวทัศน์ตัวเมืองขอนแก่นทั้งสี่ด้าน ระเบียงด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นบึงแก่นนครได้อย่างชัดเจน พระมหาธาตุแก่นนครเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะทุกวัน เวลา 08.00-18.00 น.

โพสต์ที่น่าสนใจ